วันจันทร์ีที่ 24 กันยายน พ.ศ.2555 
เขียนที่บ้าน

หนังสือmusic expressยุคนั้นถือว่าเป็นตำราในการฟังเพลงร๊อคยุคเริ่มต้นของข้าพเจ้า อ่านบทวิจาร์ณเพลง แนะนำเพลงแจ๋วๆ หลังจากนั้นค่อยไปเดินตามแผงเทปหน้ารามเพื่อเสาะหาดนตรีที่เราอยากได้ (ต้องบอกว่าม.รามคำแหงเปิดโลกทัศน์ข้าพเจ้าจริงๆ) 

เทปพีค๊อกสมัยนั้นราคาประมาณ 50 -60 บาท เป็นเพลงก๊อปจากเมืองนอกล้วนๆ เพราะเทปลิขสิทธิ์แพงมาราคาหลักร้อย ไม่มีตังค์ซื้อหรอก ต้องอาศัยเทปผีฟังนี่แหละ

ร๊อคเป็นปฐมบทในการเริ่มฟังเพลงจากเืมืองนอก (ต้องบอกว่ายุคนั้นเพลงไทยก็ก้อปดนตรีจากเมืืองนอกมาเหมือนกัน) ฟังคลื่นเพลงฝรั่งอย่างเช่นมาโนช พุฒตาล วาสนา วีระชาติผลี ดีเจวินิจ เลิศรัตนชัย คลื่นไนท์สปอต์ รายการทีวีตอนนั้นก็บันเทิงคดีรวมทั้งตัวหนังสือบันเทิงคดีด้วย

ยุคนั้นผมจะชื่นชอบ "ธเนศ วรากุลนุเคราะห์" มาก โดยเฉพาะอัลบั้ม"คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต" เป็นดนตรีแนวทดลองที่เท่ห์มากในสมัยนั้น เรียกว่า "Progressive Rock" ซึ่งผมจะฟังคู่กับวงPink Floyd (แต่ฟังไม่เยอะเท่าธเนศ)

ผมชอบ"ธเนศ"มากถึงขนาดเอาดนตรีของเขามาประกอบการแสดง ปัจจุบันผมก็ยังชื่นชอบ แม้กระทั้่งงานแต่งานผมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมปีที่แล้ว(2554)ผมก็ยังหยิบเอาเพลงของธเนศมาประกอบในงานเลย กร๊ากกกกกกก






ยิ่งไปกว่านั้นเขาเป็นศิลปินคนเดียวที่ผมเคยดูคอนเสิร์ทเพียงครั้งเดียวในชีวิต(เท่าที่จำได้) ยุคนั้นมีจัดคอนเสิร์ทที่เดอะมอล์ รามคำแหง เป็นยุคที่เพลง"เรือ"กำลังดัง นั้นละครับ! ครั้งแรกและครั้งเดียวสำหรับผม

ช่วงนั้นเป็นการแสวงหาดนตรีแนวร๊อคที่ชืนชอบ ดนตรีร๊อคแนวทดลอง หลัีงจากนั้นค่อยแตกเป็นแนว world music ไซคีเดอริคร๊อค Progresssive สารพัดจริงๆ บ้าถึงขึ้นซื้อหนังสือเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเพลงร๊อคมาฟังเลยทีเดียว

พอถึงจุดหนึ่งก็เิริ่มขยับมาฟังแนวอื่นบ้างนอกจากร๊อค อาทิ แจส คลาสิค มาระยะหลังๆไม่น่าเกินสิบปีก็เริ่มที่จะรู้จักแนวดนตรีใหม่ๆ ตามอยู่พักหนึ่งแต่ก็เลิกไปในที่สุด ก็เป็นแนว chill out IBIZA sound แนวสารพัดDanceที่มันจะพัฒนาไปได้ทั้งTrance House Drums and Bass มันเป็นยุคของการเที่ยวข้าวสาร ยุคของบางกอก บาร์...ดีเจซี้ด นรเศรษฐ หมัดคง

จุดเริ่มต้นจากเพลงร๊อค...แต่มันพาผมมาไกลมากจริงๆ "ดนตรีหล่อเลี้ยงหัวใจ"

อะไรกันเนี่ย!! ฟังเพลงร๊อคยุค80ไม่ี่กี่เพลง มันพาผมมาไกลถึงขนาดนี้เลย ถึงขนาดต้องมาเีขียนอะไรมากมายขนาดนี้

Rock never Dies....Pat Love Never Dies

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น