"เก็บเล็กผสมน้อย...โขงเจียม"


มาโขงเจียมถ้าอยากนั่งร้านกาแฟบรรยากาศสบายๆและเป็นกันเอง ก็ต้องที่นี้เลยฮะ "บ้านรับตะวัน" ใกล้ๆร้านริมโขง ก่อนถึงทางเดินลงแพอารยาเล็กน้อย 

นั่งจิบกาแฟร้อนกลิ่นหอมกรุ่น ลมจากแม่น้ำโขงที่หอมข้ามหลายขุนเขากระแทกหน้าเป็นระยะแบบเบาๆ เพลิดเพลินเจริญใจเป็นที่สุด 

หมายเหตุริมทาง :
1.ผมมาโขงเจียมล่าสุดน่าจะเป็นช่วงกลางปี มารอบนี้ร้านกาแฟเปลี่ยนเจ้าของแต่คนขายก็นิสัยน่ารักเหมือนเเดิม

2. 711 แห่งเดียวของตัวอำเภอโขงเจียมมีคู่แข่งแล้ว นั้นคือ"เทสโก้ โลตัส" ร้านอยู่ใกล้ๆกันเลย เสียดายจังเลยเนอะ ไม่น่าให้โลตัสเข้ามาเลย เสียบรรยากาศหมด!

3.นอกจากธนาคารกรุงไทยที่มาเปิดสาขาที่ตัวอ.โขงเจียม ปีหน้า(ไม่กี่วันเองเนอะ)แต่ไม่ทราบช่วงเวลาแน่นอน"ธนาคารกสิกรไทย"ก็จะมาเปิดเช่นกัน

4.แถวผาแต้มก่อนเข้าอุทยานแห่งชาติ เริ่มเห็นมีร้านขายอาหารเพิ่มขึ้นประมาณสองร้าน




ร้านกาแฟรับตะวัน ริมของ ณ โขงเจียม

5.บ้านเวินบึกเข้าไปมาแล้ว เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีโรงเรียนประถมศึกษาหนึ่งแห่ง ทุกวันจันทร์เด็กๆจะแต่งตัวเป็นชุดประจำเผ่า"บรู" น่ารักดี! แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู ขออภัย

6.ทุกวันจันทร์ตอนเย็นที่บริเวณตลาดสดโขงเจียมฝั่งตรงกันข้าม จะมีตลาดนัด บรรยากาศน่าเดิน พ่อค้าแม่ขายน่ารัก เป็นกันเอง...

7.มาโขงเจียมช่วงหน้าหนาว ในความคิดของผมจะเห็น"แม่น้ำสองสี...โขงสีปูน มูลสีคราม"อย่างชัดเจน ถ้ามองจากจุดชมวิววัดโขงเจียมก็สามารถเห็นได้เช่นกัน 

วัน : อังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555
สถานที่ :โรงแรมทอแสง โขงเจียม อุบลราชธานี



ค่าตั๋วเครื่องบินกระเป๋า...


"...เท่าไหร่นะน้อง.."

เช้านี้นั่งแท๊กซี่จากบ้านมาสนามบินดอนเมืองเพื่อขึ้นเครื่องของสายการบิน"ใครๆก็บินได้" ปลายเมืองบัวบาน...อุบลราชธานี:-) 

ค่าแท๊กซี่ 125 บาท ผมจ่ายไป 150 พร้อมอวยพรพี่คนขับ"ขอให้โชคดี เฮงๆ"

OMG!เคาท์เตอร์เช๊คอินคนเยอะมว๊าก ยังกะตลาดนัดแต่ก็ไหลลื่นดี เข้าคิวไม่นาน:-)

ผมยื่นบัตรประชาชนเพื่อเช๊คอิน "ไปอุบลครับ FD 3370"
พนง."กระเป๋าไม่รวมนะคะ"
ผม"ครับ ต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่จ๊ะ" 

พนง."จ่ายค่ากระเป๋า 900 บาทคะ"
ผมนึกในใจ"900บาทเหรอวะ ไม่ใช่300เหรอ" และถามพนง.กลับไป"ไม่ใช่300เหรอ"
พนง."ถ้าพี่จองและจ่ายผ่านเว็บ 300 คะ แต่ถ้าจ่ายตอนเช็คอิน 900 คะ"



นั้นไงโดนแต่เช้าเลยกรู!

น้องพนง.ก็ใจดีพร้อมบอกทางออกให้"กระเป๋าลากไปก็ได้คะ แต่ในกระเป๋ามีของเหลวและของมีคมหรืเปล่าคะ"
ผม"ในกระเป๋ามีมีดพับด้วยอะสิ ไม่เป็นไรจ๊ะ จ่ายเพิ่มค่ากระเป๋าไปละกัน"

กระเป๋า15 กิโลกรัมแรกถ้าจองและจ่ายผ่านเว๋บจ่าย 300 บาท แต่ถ้ามาจ่ายที่สนามบินเพราะคิดว่าราคาเดียวกัน ฝันร้ายชัดๆ 900 บาทนะฮะพี่น้อง:-( 

"เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอเพราะความไม่รู้จริงๆ รู้อย่างนี้ทำเว็บเช็คอินตั้งแต่เมื่อคืนพร้อมจ่ายค่ากระเป๋าไปก็เรียบร้อยไปแล้ว:-) กระเป๋าสัมภาระผมหนักเพียง 10 กก.เท่านั้น

Have a nice day...What a shit happen!


ผมเอง...PattyCake
เขียนที่ : สนามบินดอนเมือง 
วัน : อาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2555 
ภาพ : เที่ยวบิน FD3370
สถานที่ : สนามบินอุบลราชธานี

"...ทำไมคนสุรินทร์ต้องกินสุรา.."


พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เลขานุการมณฑลอีสาน เล่าถึงอันตรายจากการเดินทางสมัยก่อน เช่นไข้ป่า

"...พวกข้าราชการที่กินเหล้าจนติดนั้น ความจริงทุกคนเคยเป้นไข้ป่าแล้วและเมื่อเป็นแล้วรักษาหายไม่ถึงตาย แต่ก็กลับเป็นอีก บางคนเดือนหนึ่งไข้กลับตั้ง 2 ครั้ง เรียกว่าเป็นกันตลอดปี บางคนเป็ฯมาแล้วตั้ง 5-6 ปี ก็ยังไม่หายขาดฉะนั้นจึงต้องกินเหล้าไว้เสมอเพื่อต่อสู้พิษไข้ บางคนบอกว่าเคยเป็นไข้ครั้งเดียวพอหายแล้วก็กินเหล้าตลาดมาเลยไม่เป็นอีก สำหรับราษฎรชาวบ้านก็เป็นทำนองเดียวกันถึงฤดูไข้ก็เป็นกัน บางครัวเรือนเป็นหมดทั้งบ้าน ดังนั้นแทบทุกบ้านจึงต้มเหล้าไว้กินกันไข้..."





จากข้อความดังกล่าวข้างต้นจึงอาจวิเคราะห์สาเหตุของการ"นิยมกินเหล้า"และกลายเป็นคนติดเหล้าของ"ชาวสุรินทร์"สมัยก่อนน่าจะเนื่องมาจากการป้องกันตัวจากไข้ป่าชุกชุมนี้เอง

ที่มา : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุรินทร์ "รศ.ศิริพร สุเมธารัตน์

บัวบานที่..อุบลราชธานี


รู้หรือไม่?
อุบลราชธานี หมายถึงเมืองแห่งบัวบาน หรือเมืองอันมีที่มาจาก "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" (ที่หนองบัวลุ่มภู ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู)

รู้หรือไม่?
นามอุบลราชธานี ได้จากบรรดาศักดิ์ของ "พระปทุมสรุราชภักดี (คำผง)" เจ้าเมืองคนแรก ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่๑ เมื่อพ.ศ.๒๓๓๕ / คศ.1792

รู้หรือไม่?
วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕ มีเรือกลไฟชื่อ"พานิชพัฒนา"ของบริษัทสยามบุรพทิศสิทธิการ ณ เมืองอุบล"แล่นรับคนโดยสารตามลำน้ำมูลเป็นนครั้งแรก จากท่าเมืองอุบลฯถึงท่าช้างนครราชสีมา

รู้หรือไม่?
วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ สายโทรเลขจากเมืองอุบลฯใชัการได้ตลอดจนถึงกรุงเทพฯ

รู้หรือไม่?
พ.ศ.๒๔๗๑ / คศ.1928 อุบลฯมีรถไฟมาสุดที่ อ.วารินชำราบ (เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เมืองพ.ศ.2443/คศ.1900 แล้วถึงสถานทีปลายทางที่ อีก 28 ถัดมารถไฟก็มาถึงอุบลฯ)

"รวมทุกเชื้อชาติเป็นชาติเชื้อไทย"
ประเทศไทย เป็นชื่อใหม่ของราชอาณาจักสยาม เมือพ.ศ.2482 / คศ.1939
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 7 ปี ของการปฏิวัติ หรือ "การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475" นายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม นายกฯวัย 42 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งมาได้เพียง 6 เดือน ในบทบาทของ"ท่านผู้นำ"ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังข้อความดังต่อไปนี้

"โดยชื่อของประเทศนี้มีเรียกกันเป็นสองอย่างคือ ไทย ปละ สยาม แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "ไทย" รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชนชาวไทยดังต่อไปนี้
ก.ในภาษาไทย ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า "ไทย"
ข. ในภาษาอังกฤษ 1.ชือ่ประเทศ ให้ใช้ว่า Thailand 2.ชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า Thai

ทีมา : หนังสืออุบลราชธานี มาจากไหน? โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ

เรื่องเล่าคุณภรรยา ตอน"...สภาวะเดียวกัน..."

"ประมาณวันที่ 3 มีค. 2556 คาดว่าจะคลอด แต่ก็มีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดสองอาทิตย์" คุณหมอบอกมาอย่างนี้ ส่วนการคลอดก่อนกำหนดก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องกังวล

เมียก็ท้องโตขึ้นๆทุกวันจนใหญ่กว่าลูกแตงโมสะอีก น้ำหนักก็เพิ่มมากขึ้นตามท้องที่โตขึ้น การเคลื่อนไหวหรือการเดิน ลุก นั่งและนอนก็ต้องช้าลงตามลำดับ เหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิม สาเหตุทั้งหมดก็มาจากครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น

ตอนบวชทุกๆเช้าก็ต้องเดินบิณฑบาตรทุกวันเพราะเป็นหนึ่งในกิจของพระสงฆ์ที่ต้องกระทำ บาตรก็มีลักษณะกลมคล้ายๆกับท้องของแม่

ช่วงต้นๆของการบิณฑบาตรยังเดินสบายๆเพราะยังไม่มีโยมใส่บาตร แต่เมื่อเดินไกลออกจากวัดมากขึ้นของในบาตรก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ของที่ใส่ก็ล้นบาตร ก็ต้องย้ายมาใส่ในย่าม เมื่อย่ามเต็มก็ต้องใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่ที่เตรียมเอาไว้เพื่อใส่อาหารของญาติโยมทั้งหลาย 



ย่ามที่เต็มไปด้วยของที่โยมใส่บาตรเริ่มส่งผลที่ไหล่เริ่มล้า บาตรก็เต็มไปด้วยอาหารจนสายคล้องบาตรตึงและรั้งต้นคอจนปวดไปหมด ไหนจะถุงพลาสติกที่เต็มไปด้วยของๆญาติโยมอีก หิ้วจนนิ้วแทบจะหลุด!!

ยังโชคดีอยู่บ้างที่สามารถจะฝากของที่โยมๆใส่บาตรที่อยู่รวมกันในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ รวมทั้งข้าวปลาอาหารในย่าม ฝากที่ไว้บ้านโยมหลังหนึ่งแล้วจะมีคนมารวบรวมและนำไปส่งให้ที่วัดอีกที

ข้าวปลาอาหาร ทั้งอาหารสดและอาหารแห้งถึงแม้จะมีโยมนำไปส่งให้ที่วัด แต่บาตรก็ยังคงคล้องอยู่ที่คอ บาตรที่หนักเพราะเต็มไปด้วยอาหารโดนดึงรั้งด้วยสายบาตร เป็นอย่างนี้ทุกวันจนทำให้ต้นคออักเสบแต่ก็หายไปในทีสุดเมื่อร่างกายปรับสภาพได้

แต่อาการเมื่อยจากการเดินบิณฑบาตรทุกเช้ายังคงมีอยู่ต่อไป!

พระอาจารย์เคยบอกว่า"เราเพียงแค่เดินอุ้มบาตรเพียงวันละไม่กี่ชั่วโมงเราก็รู้สึกเหนื่อย รู้สึกเมื่อย แต่แม่ของเราต้องอุ้มครรภ์เป็นเวลาถึงเก้าเดือน คิดไหมว่าจะหนักและเมื่อยขนาดไหน"

พระอาจารย์เปรียบการอุ้มบาตรหรือเดินบิณฑบาตรเสมือนการอุ้มท้องของมารดา เพราะฉะนั้นเราก็เข้าใจสภาวะที่คุณภรรยาตั้งครรภ์อยู่ ณ ปัจจุบันนี้ว่ามันหนักขนาดไหนที่ต้องอุ้มท้องหรืออุ้มบาตรที่มีสิ่งมีชีิวิตอยู่ด้านในถึง 9 เดือน


อีกไม่นานเกินรอ...ท้องก็จะยุบและสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆที่เราเรียกว่า"ลูก"ก็จะออกมาส่งเสียงร้อง อุแว้ๆๆๆ วันนั้นแหละที่จะทำให้"คุณภรรยา"หายเหนื่อยจากอาการปวดเมื่อยทั้งหลาย

ข้าวขาวดอกมะลิ 105

**อ่านเจอเรื่องข้าวหอมมะลิก็เลยหยิบมาเล่าให้ฟัง น่าสนใจดี เรื่องเล็กๆที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวข้าวหอมมะลิ**

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการทำสนธสัญญาเบาวร์ริงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความสำคัญเรื่องการค้าข้าวเพื่อเปิดประเทศไปสู่การค้าเสรี ทำให้รัฐบาลสยามอนุญาตให้มีการ"ส่งออกข้าว"เป็นสินค้าออกได้ 

ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาจึงมีการหักร้างถางพงป่าเขาจำนวนมาก เพื่อขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะที่ราบภาคกลางจะมีการเพิ่มผลผลิตข้าว

ส่วนในเขตพื้นที่อีสาน การขยายพื้นที่ปลูกข้าวยังมีน้อย ชาวนาในท้องถิ่นจะปลูกข้าวเพียงไว้บริโภคภายในครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ผลิตปริมาณมากเพื่อขาย จนกระทั่งเส้นทางรถไฟได้ขยายเข้ามาในภาคอีสาน จึังมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจภาคอีสานเป็นอย่างยิ่งรวมทั้งในเขตอีสานใต้



ตอนนี้ขอกระโดดมาพูดถึง"ข้าวหอมมะลิ 105" ของจังหวัดสุรินทร์ ว่ามีทีมาอย่างไร?

ข้าวหอมดอกมะลิเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าชื่อเดิมว่า"ข้าวขาวดอกมะลิ 105" แต่จากการที่มีกลิ่นหอมหลังจากเก็บเกี่ยวใหม่ จึงได้ชื่อว่า "ข้าวหอมมะลิ 105" ซึ่งพันธุ์ข้าวหอมมะลิเกิดจาก.....

พนักงานข้าว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ชื่อนายสุนทร สีหะเนิน ได้ทำการนำรวงข้าวที่เก็บพันธุ์จากที่ต่างๆ จำนวน 199 รวงไปทดลองปลูกเปรียบเทียบเพื่อคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์เมือปีพ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๔๙๔ และนำพันธุ์ที่มีลักษณะดีออกเผยแพร่ซึงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิคือ "พันธุ์ข้าวที่ปลูกอยู่ในแถวหรือรวงที่ 105" จากจำนวน 199 รวง
แต่กว่าพันธุ์ข้าวหอมมะลิจะปลูกกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคอีสานก็ใช้เวลากว่า 30 ปี คือตั้งแต่ปีพ.ศ.2502 - 2536

ต่อมาในปีพ.ศ. 2522 ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวหอมมะลิไปขายตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยเป็นคู่แข่งของตลาด "ข้าวบัสมาติ" ของอินเดีย

สรุปปิดท้ายข้าวหอมมะลิจะมีคุณภาพแตกต่างกันตามพื้นที่ หากเป็นข้าว"หอมมะลิชั้นเลิศ" ต้องเป็นข้าวหอมมะลิที่ปลูกที่ทุ่งกุลาเพราะพื้นที่เหมาะสมและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวคือ ดิน น้ำ แสงแดด ธาตุอาหาร และความชื้น

หมายเหตุ :
1.พันธุ์ข้าวที่ชาวนาปลูกส่วนใหญ๋จะเป็นพันธุ์พื้นเมืองและอาจะมีพันธุ์ที่เกิดจากลูกผสมที่เรียกว่า กข1 , กข2 , กข3... ซึงความหมายของตัวเลขคือ
เลขคี่กำหนดให้เป็น"ข้าวเจ้า"
เลขคู่กำหนดให้เป็น"ข้าวเหนียว"

2.รถไฟสายแรกของสยามประเทศคือ"กรุงเทพ - นคราราชสีมา"ในปีพ.ศ.24443/ค.ศ.1900 สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ และเริ่มสร้างต่อในสมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.24732/ค.ศ.1930

ขอบคุณข้อมูลจาก
รองศาสตราจารย์ศิริพร สุเมธรัตน์ "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์

ผู้เป็นลูกชายของแอนนา แฮเรียท เลียวโนเวนส์ ..เขาชื่อหลุยส์ เลียวโนเวนส์



หลุยส์ โทมัส กุนนิส เลียวโนเวนส์ เขาเป็นใครและทำอะไรที่ประเทศไทยสมัยรัชกาลที่๕



หมายเหตุ :
เคยได้ยินและอ่านเจอมาเหมือนกันว่าลูกชายของนางแอนนาเปิดบริษัทค้าไม้อยู่ในประเทศไทยช่วงสมัยรัชกาลที่๕ และปัจจุบันบริษัทนี้ก็ยังคงดำเนินกิจการ แต่ทราบเพียงเท่านี้จริงๆ จนวันนี้ได้ไปอ่านข่าวหนึ่งซึ่งเนื้อเรื่องก็สอดคล้องกันพอดี ก็เลยลองเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและก็เจอ ก็เลยคัดลอกเก็บเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานต่อไป ใครที่สนใจก็ลองเข้าไปอ่านประวัติเพิ่มเติมได้นะครับ ผมเอาลิงค์เจ้าของข้อมูลจริงๆที่ผมลอกมาแปะไว้ด้านล่างสุด...ขอบคุณอีกรอบสำหรับข้อมูลดีๆ


หลังจากผูกพันอยู่กับประเทศไทยมากว่า 40 ปี หลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ ได้ก่อตั้งบริษัทหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2448 โดยมารดาของหลุยส์คือ นางแอนนา แฮเรียท เลียวโนเวนส์

หลุยส์ โทมัส กุนนิส เลียวโนเวนส์ เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 เมื่ออายุได้เพียง 7 ปี หลุยส์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากมารดาพร้อมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายในพระบรมมหาราชวัง 

จนกระทั่งได้เดินทางกลับไปศึกษาต่อในยุโรปจนจบการศึกษา และต่อมาในปี พ.ศ. 2424 หลุยส์ซึ่งขณะนั้นอายุ 27 ปี ได้เดินทางกลับมายังแผ่นดินสยามอีกครั้งและได้รับราชการเป็นหัวหน้ากองทหารม้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายหลังลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2427 หลุยส์ได้เข้าทำงานในบริษัทบอร์เนียว โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการบุกเบิกกิจการป่าไม้สักในภาคเหนือของสยาม หลังจากลาออกจากบริษัทบอร์เนียวในปี พ.ศ. 2429 หลุยส์ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ บริษัทบอมเบย์เบอร์มา เทรดดิ้ง ในการจัดการสัมปทานไม้สัก ก่อนที่จะร่วมกับหุ้นส่วนชาวอเมริกันจัดตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2432

หลุยส์ได้นำผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจในส่วนของตนเองทั้งหมดมาเปิดบริษัทหลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2448 



ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วมกับบริษัท Denny, Mott & Dickson จากประเทศอังกฤษจัดตั้งโรงเลื่อย ท่าเรือ รถยก และ โกดังสินค้าริมน้ำที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อบริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ จำกัด

แม้ว่าหลุยส์จะมีบทบาทในบริษัทของตนเองน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 เป็นต้นมา แต่หลุยส์ก็ยังคงมีบทบาทเป็นอย่างสูงในสังคมกรุงเทพฯ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2456 เมื่อเขาเดินทางออกจากสยามและถึงแก่กรรมที่ประเทศอังกฤษในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2462


ปี พ.ศ. 2529 บริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รวมกิจการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Getz และได้ปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจมาเป็นดังเช่นในปัจจุบัน อันส่งผลให้บริษัทยังคงไว้ซึ่งสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขันท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของโลกสมัยใหม่ไว้ได้

อนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรม
เสาชิงช้าซึ่งใช้ในพระราชพิธีตรียัมปวาย เพื่อบวงสรวงพระอิศวร ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองของไทย ซึ่งบริษัทฯ ได้บริจาคไม้สักในการบูรณะเสาชิงช้าเมื่อปี พ.ศ. 2463 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ที่ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2462 แม้ว่า พระราชพิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิก ไปเมื่อปี พ.ศ. 2476 แต่เสาชิงช้าก็ยังคงเป็นอนุสรณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยและเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


คัดลอกข้อมูลทั้งหมดจาก
http://www.gun.in.th/board/index.php?topic=86538.0

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ผจก.ออนไลน์
http://bit.ly/VMBAV0

โรงแรม “137 Pillars House”

ย้อนอดีตไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ในสมัยที่เชียงใหม่ยังอุดมไปด้วยป่าไม้สัก และมี “บริษัทอีสบอร์เนียว จำกัด” ของต่างชาติมารับสัมปทานทำป่าไม้

ในเชิงพาณิชย์โดยถูกกฎหมาย บริษัทอีสบอร์เนียวฯ ได้มาสร้างออฟฟิศแห่งแรกในเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2432(ค.ศ. 1889)

ในปีเดียวกันนี้บ้าน 137 เสา(ดั้งเดิม) ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นบ้านพักของ “คุณหลุยส์ ลีโอโนเว่นส์”(ลูกชายแหม่มแอนนา ลีโอโนเว่นส์ ผู้เป็นอาจารย์ถวายการสอนภาษาอังกฤษในรัชกาลที่ 5)

เหตุที่บ้านหลังนี้ได้ชื่อว่า บ้าน 137 เสา ก็เพราะบ้านนี้มีเสามากถึง 137 ต้นด้วยกัน

บ้าน 137 เสา ถูกใช้เป็นบ้านพักของผู้จัดการบริษัทอีสบอร์เนียวฯ มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2470(ค.ศ. 1927) กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาควบคุมเชียงใหม่ ทำให้ผู้จัดการบริษัทอีสบอร์เนียวฯในยุคนั้นต้องหลบหนีไปอยู่พม่า และปล่อยบ้านทิ้งไว้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณวิลเลี่ยม เบน(บิดาของลุงจรินทร์(แจ็ค) เบน ผู้เป็นหัวแรงสำคัญในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดเกด)ได้เข้ามาซื้อบ้านหลังนี้ และสร้างครอบครัวอยู่ที่นี่

ผ่านมาในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ.2002) “คุณพนิดา วงศ์พันเลิศ” ได้เดินทางมาพักผ่อนในเชียงใหม่และได้พบกับบ้านหลังนี้แล้วตกหลุมรักตั้งแต่แรกเห็น จึงทำการขอซื้อบ้านหลังนี้ที่ขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันในนาม“บ้านดำ” เพื่อปรับปรุง พร้อมสร้างอาคารเพิ่มเติมเพื่อเป็นที่พัก โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก บ้าน 137 เสา เป็น “137 Pillars House” ซึ่งก็เป็นการนำชื่อเดิมมาเรียกขานใหม่ให้เป็นสากลนั่นเอง

อีกหนึ่งร้านที่แนะนำ...ร้านชาวเล อัมพวา ณ คลองผีหลอก


ค่ำคืนนี้ที่อัมพวาพาลูกค้าสองคนออกมาซิ่งทานอาหารมื้อค่ำ"ซีฟู้ด" ที่ร้านชาวเล อัมพวา

ร้านนี้ได้รับคำแนะนำจากน้าคนขับเรือหางยาวมาสักพักแล้วแต่ยังไม่มีโอกาสแวะมาสักที ในที่สุดค่ำนี้ก็ได้มาชิม:-

ร้านชาวเลเปิดบริการอาหารกลางวันเช่นกัน สามารถเดินทางไปที่ร้านได้ทั้งทางรถและเรือหางยาว สำหรับเพื่อนๆที่อยู่ละแวกดำเนินสะดวกหรืออัมพวา แวะมาทานได้นะขอรับ บรรยากาศดีติดริมคลอง อาหารรสชาดอร่อนและราคาไม่แพง!

ถ้าสหมิตรจะมาทานในวันหยุด..ศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ช่วงหัวค่ำคนเยอะนะฮะ ยังไงเพื่อป้องกันความผิดหวังเพราะไม่มีโต๊ะหรือต้องรอ การโทรมาจองเป็นสิ่งที่กระผมแนะนำ!!


กุ้งอบเกลือ..เยอะมาก สดด้วย!

ค่ำคืนนี้กระผมและลูกค้าทั้งหมดสามคน อาหารที่กระผมสั่งก็มี"ปลากระพงทอด(สดจริง) กุ้งอบเกลือ(เนื้อแน่นๆมาเต็มจาน) หอยหลอดผัดผ่า ต้มข่าไก่(แซ่บและอร่อย รสชาดบ้านๆ) และหมูแผ่นทอด พร้อมข้าวหนึ่งโถ" ผมและลูกค้ากินอย่างเอร็ดอร่อย อาหารเกลี้ยงทุกอย่าง จ่ายค่าเสียหายไปทั้งสิ้น 1,030 บาท 

ช่วงหลังมาอัมพวาบ่อย ก็ต้องเสาะหาของอร่อยๆและราคาไม่แพงกิน เรามันคนต่างถิ่นก็ต้องลองผิดลองถูกกันไป ความผิดพลาดทำให้เราเก่งขึ้น!

กระผมเรื่องกินนี้จัดเต็มให้ลูกค้าไม่ยั้ง แต่ละวัน แต่ละมื้อจะสั่งให้กินไม่ซ้ำกันเลยเพราะทุกมื้อที่ผมสั่ง ผมจะจดเอาไว้ตลอดว่ากินอะไรไปบ้างแล้ว 

ข้อดีอีกอย่างขอร้านนี้คือ"เมนูเป็นภาษาไทย" ด้านหลังของเมนูมีภาพประกอบ อิอิ

ผมเคยนะ พาลูกค้าไปที่ร้านอาหารแล้วถามว่า"คุณจะสั่งกันเอง หรือจะให้ผมสั่งให้ ถ้าสั่งกันเองผมต้องขอบอกตามตรงว่าคุณมีงบอาหารคนละเท่าไหร่ ถ้าใครกินเกิาก็จ่ายส่วนต่างไป"


ปลากะพงตัวใหญ่ยักษ์ทอดน้ำปลา หร่อย!

บางทีผมก็คิดเมนูอาหารตามสั่งขึ้นมาสี่ถึงห้าอย่าง แล้วสอบถามลูกค้าบนรถบัสว่าใครจะทานอะไรให้ยกมือขึ้น แล้วก็นับๆแยกเป็นรายการๆไป ไปถึงร้านก็สั่งตูมเดียวเลย! ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะบอกลูกค้าไปว่าถ้าให้ทุกคนดูเมนู กว่าจะอ่าน กว่าจะสั่ง ไม่ต้องไปไหนกันพอดี อันนี้ในกรณีเร่งด่วนแต่วิธ๊นี้ใช้มานานแล้ว ตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้วอะ ปรับเปลี่ยนวิธีไปเรื่อยตามสถานการณ์ทีเปลี่ยนไป

งานทัวร์หรือมัคคุเทศก์ไม่มีสูตรสำเร็จ ความสำเร็รของชุดที่แล้วไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จชุดต่อไป ประสบการณ์คือคุณครูที่ดีที่สุด! เพราะอาชีพไกด์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะหลายอย่างประกอบกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องมีคือ"รักในงานบริกาา" อันนี้คือหัวใจเลย

หอยหลอดผัดฉ่า

เฮ้ย! อาหารมื้อเดียวเขียนยาวได้ขนาดนี้เลยวุ้ย:-) 
หมายเหต : ที่ร้านมีบริการเรือรับส่งเช่นกัน ส่วนราคาก็โทรไปสอบถามได้นะจ๊ะ เพราะผมไม่สามารถบอกราคาตรงนี้ได้เพราะเป็นความลับทางราชการ!

วันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ย. พ.ศ.2555
บ้านอัมพวา สมุทรสงคราม

แง่คิดบางส่วนจากสามก๊กโดยขงเบ้ง...


จิบกาแฟ...อ่านสามก๊ก รอคุณภรรยา:-) เก็บเล็กเก็บน้อยมาฝาก คงไม่สะเทือนถึงดวงดาวแต่ขอให้เป็นอุทาหรณ์ก็แล้วกัน

ขงเบ้ง
"...กฏหมายที่ตราขึ้นใช้ในแผ่นดินพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้นั้นมีบทกำหนดโทษโหดร้ายทารุณ ราษฎรชิงชังเคียดแค้นยิ่งนัก ด้วยเหตนี้พระเจ้าหั้นโกโจจึงได้ผ่อนคลายใช้เมตตาธรรมแก่ราษฎร

แต่เล่าเจี้ยงนั้นเป็นคนขวัญอ่อนไม่รู้จักบริหารแผ่นดิน และไม่เคร่งครัดต่อตัวบทกฏหมาย จึงทำให้หลักธรรมระหว่างเจ้ากับข้าเสื่อมคลายไป คนเลวกลับได้ดี คนดีมีความรู้กลับถูกรังแก ใครยกยอปอปั้นก็ได้ดี ใครทัดทานไม่เห็นด้วยก็ถูกกลั่นแกล้งให้เสียหาย จึงต้องเสียบ้านเสียเมืองด้วยเหตุดังนี้

บัดนี้ เราจะเคร่งครัดต่อกฏหมายบ้านเมือง เมื่ออยู่เย็นเป็นสุขกันแล้ว ขึงค่อยมีเมตตากรุณา การใช้ยศถาบรรดาศักดิ์จะกวดขันยิ่งขึ้น ต้องทำความชอบจริงๆจึงจะได้ปูนบำเหน็จ ความเมตตากรุณาและเกียรติยศจะต้องมีอยู่ควบคู่กันไป และการรู้ผู้ใหญ่ผู้น้อยจะทำให้การปกครองบ้านเมืองเกิดคุณประโยชน์จริงๆ"


จากหนังสือสามก๊กเล่ม๒ โดยววรณไว พัธโนทัย
ขอบคุณภาพจาก fackbookของคุณขงเบ้ง ขงเบ้ง

"ความเสื่อมของอาณาจักรขอม"



เคยสงสัยมานานแล้วว่าประวัติศาสตร์ช่วงท้ายของอาณาจักรขอมหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอย่างไร ในที่สุดวันนี้ก็อ่านมาเจอ เสียยดายที่จะเก็บเอาไว้คนเดียวก็เคยคัดลอกเอามาแบ่งปันและเก็บเอาไว้อ่านในครั้งต่อๆไป 

"ความเสื่อมของอาณาจักรขอม"

สิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช กษัตริย์ขอมระยะหลังไม่ทรงอานุภาพ โดยเริ่มตั้งแต่สมัย"พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 (พ.ศ.1780-1838) ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรีกับ"ราชวงศ์นาวนำถมแห่
งกรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย" อาจเกิดจากทรงเกรงพระราชอำนาจ

ซึงศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่2 วัดศรีชุมกล่าวถึงราชวงศ์ที่มีก่อนราชวงศ์พระร่วงคือรางวงศ์นาวนำถม โดยมี"พ่อขุนศรีนาวนำถม"ทรงครองกรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ประมาณพ.ศ.1721 และได้ขยายอาณาเขตได้อย่างกว้างขวางจนเป็นที่เกรงขามของแว่นแคว้นใกล้เคียง

นอกจากนี้จารึกบันทายศรี(วัดนางพญา) ของราชอาณาจักรขอมกล่าวถึง "พ่อขุนผาเมือง" เจ้าเมืองราด โอรสของของพ่อขุนศรีนาวนำถมได้ทรงอภิเษกสมรสกับ"พระนางสุขรมหาเทวี" พระธิดาองค์ใหญ่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 แสดงให้เห็นถึงพระราชอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย เพราะกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมถึงกับยอมพระราชธิดาและพระราชทานนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ให้พ่อขุนผาเมืองพระราชบุตรเขย รวมทั้งแต่ตั้งให้เป็นอุปราชของราชอาณาจักรของในตำแหน่ง "กัมรเต๊งอัญผาเมือง" ถืออาญาสิทธิ์คือพระขรรค์ชัยศรี

ต่อมาพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือกับ "พ่อขุนบางกลางหาว"เจ้ามืองบางยางยกกองทัพตีกรุงสุโขทัย โดยเชื่อว่ขณะนั้นกรุงสุโขทัยเมื่อสิ้น"พ่อขุนศรีนาวนำถม"คงถูกยึดครองโดยขุนนางขอมคือ "ขอมสบาดโขลญลำพง" สามารถรบชนะชิงกรุงสุโขทัยได้เมือพ.ศ. 1786

เมื่อพ่อขุนผาเมืองตีเมืองคืนได้จึงทรงมอบกรุงสุโขทัยให้"พ่อขุนบางกลางหาว"ครอบครอง และมอบพระนามที่ได้รับพระราชทานจากกษัตริย์ขอมให้พ่อขุนบางกลางหาวซึ่งได้ย่อพระนามเหลือเพียง "ศรีอินทราทิตย์" และได้เสด็จไปอยู่ที่อาณาจักรขอมในฐานะ"อุปราช"

เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 สิ้นพระชนม์ "พ่อขุนผาเมือง หรือ กัมรเตงอัญผาเมือง"ซึงเป็นอุปราชและเป็นพระราชบุตรเขยเชื่อสายสุโขทัยก็ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ขอมปกครองเมืองพระนคร ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีนทรรมัน (พ.ศ.1838 - 1850)" และทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ ครองราชสมบัติอาณาจักรขอมต่อมาคือ 
1.พระเจ้าศรีนทรชัยวรมัน (พ.ศ.1850 - 1870) และ
2.พระเจ้าชัยวรรมปรเมศวร (พ.ศ.1870)


ราชอาณาจักรขอมก็ถึงความเสื่อมมากขึ้นโดยเฉพาะ"ระบบสังคมทาส"เริ่มพังทลาย พงศาวดารกล่าวถึงพวกทาสที่ถูกเกณฑ์ไปสลักหินขนหินเพื่อสร้างปราสาทหินได้พากันก่อจราจลยกเข้าล้อมเมืองหลวงเข่นฆ่าขนชั้นปกครองคือขุนนางและกษัตริย์ นอกจากนี้ศาสนาพุทธนิการหีนยานก็แพร่ขยายเข้ามาอีก

สรุปได้ว่าระยะตั้งแต่ พ.ศ.1800 - 1950 จึงเป็นช่วงเวลาของความมืดมนและพินาศล่มจมของอาณาจักรขอม

ความเสือมของราชอาณาจักรขอมรวมทั้งการเริ่มขยายอาณาเขตของกรุงสุโขทัยลงมาจึงทำให้เกิดการ"ละทิ้ง"เมืองพระนครเพื่อไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่อยู่ห่างไกลจากการรบกวนของ"กองทัพสยาม" โดยย้ายลงไปทีเมือง"ละแวก"อยู่ทางด้านใต้ของทะเลสามกัมพูชา

ต่อมาเมื่อราชอาณาจักรสยามที่กรุงอโยธนามีความเข้มแข็งและมีอำนาจสามารถยึดครองอาณาจักขอมเป็นเมืองขึ้นได้ในสมัย"สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 "อู่ทองจึงทำให้อาณาจักรขอมเข้าสู่"ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน"มาสู่ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรกัมพูชาปัจจุบัน

ข้อมูลจากหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุรินทร์ โดย
รศ.ศิริพร สุเมธารัตน์

ปราสาทตาเมือน


"ปราสาทตาเมือน" น่าจะมามาจากชื่อผู้ชายสูงอายุที่เรียกทั่วไปว่า "ตา" ส่วน"เมือน" คือชื่อคน โดยสมัยโบราณนิยมตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อบุคคล 

สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า "เมื็อน" หมายถึง ไก่ (a chicken) เนื่องจากประเพณีการตั้งชื่อคนสมัยก่อนนั้นจ
ะตั้งชื่อเป็นสัตว์ต่างๆ เพื่อไม่ให้ผีกำเนิดมาแย่งลูกไป

ส่วนปราสาทตาเมือนธม (โท๊ม) คำว่า"โท๊ม" แปลว่าใหญ่ และปราสาทตาเมือนโต๊จ (ตูจ) คำว่า"ตูจ" แปลว่าเล็ก แคบ

เพราะฉะนั้นกลุ่มปราสาทตาเมือน 3 หลัง จึงใช้ประโยชน์ต่างกันคือ
1.ปราสาทตาเมือนธม เป็นศาสนสถานประดิษฐานศวิลิงค์
2.ปราสาทตาเมือนตูจ เป็นอโรคยาศาลา เพื่อรักษาคนเจ็บป่วย
3.ปราสาทตาเมือน เป็นที่พักคนเดินทางที่เรียกว่า "ธรรมศาลา"


กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่บริเวณช่องเขาตาเมือนในเทือกเขาพนมดงรัก

ข้อมูลจากหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุรินทร์ โดย
รศ.ศิริพร สุเมธารัตน์